pro gif
Concrete Text Header

 ผลิตภัณฑ์งานคอนกรีตพิมพ์ลาย

Concrete Products

(Stamped Colour Cement)

สีเคลือบแกร่ง “แสตมป์ คัลเลอร์ ซีเมนต์”

Concrete Products

(Stamped Colour Cement)

สีเคลือบแกร่ง “แสตมป์ คัลเลอร์ ซีเมนต์”

Concrete Products

(Stamped Colour Cement)

สีเคลือบแกร่ง “แสตมป์ คัลเลอร์ ซีเมนต์”


สิ่งที่ต้องเตรียมในการติดตั้งพื้นคอนกรีตพิมพ์ลาย

Step Concrete
Step Number

แม่แบบพิมพ์ลาย

แม่พิมพ์ ใช้สาหรับสร้างลวดลายบนคอนกรีตสูตรพิเศษ

อย่างน้อยต้องมี 3 แผ่น ขึ้นไป

Step Concrete
Step Number

CPH STAMPED COLOR CEMENT

สีเคลือบแกร่ง “Stamped Color Cement” ใช้สาหรับโรยบนผิวคอนกรีตสูตรพิเศษ ให้เกิดสีสัน แลดูเป็นธรรมชาติ 1 กระสอบ ขนาดบรรจุ 25 kg. ใช้ได้ 8-10 ตร.ม.

Step Concrete
Step Number

CPH RELEASER POWDER

ผงลอกลาย (Releaser P) ใช้สำหรับโรยบนผิวคอนกรีตก่อนจะใช้แม่พิมพ์วางบนคอนกรีต ทำให้กดลวดลายได้ง่ายขึ้น 1 ถัง ขนาดบรรจุ 10 Kg. ใช้งานได้ 80-100 ตร.ม.

Step Concrete
Step Number

CPH COATING PRO

สารเคลือบเงาชนิดใส “ Coating pro ” ใช้ในการเคลือบเงาผิวคอนกรีต 1 ถัง ขนาดบรรจุ 18 Kg ใช้งานได้พื้นที่ 80-100 ตร.ม.

Step Concrete
Step Number

CPH TINNER AAA

ทินเนอร์คุณภาพสูง “ Tinner AAA” ใช้ผสมกับ CPH COATING PRO เพื่อใช้ในการเคลือบเงาผิวคอนกรีต 1 ปี๊บ ขนาดบรรจุ 10 Kg. ใช้อัตราส่วน CPH COATING PRO 1:4 CPH TINNER AAA

Step Concrete
Step Number

CPH READY BOND

น้ำยาประสาน “Ready Bond” น้ำยาประสานสูตรเข้มข้น ชำสำหรับงานปูนที่ต้องการประสิทธิภาพการยึดเกาะสูงเป็นพิเศษ ต้องการความยืดหยุ่นหรือเพิ่มความแกร่งของปูนให้มากขึ้น ขนาดบรรจุ 18 Kg. ใช้งานได้พื้นที่ 100-150 ตร.ม.


ขั้นตอนการปฎิบัติงาน

1. เตรียมพื้นที่ โดยการปรับระดับพื้นที่ให้ได้ระดับที่ต้องการ

2. เข้าแบบโดยพยายามตั้งแบบสูงพอดีกับระดับคอนกรีตที่จะเท เพื่อจะได้ Stamp ง่ายๆตรงขอบ

3. เช็คระดับ Slope ให้เรียบร้อย และโรยทราย วางเหล็กตระแกรงไว้ให้เรียบร้อย ฉีดน้ำเตรียมเทปูน

4. เริ่มเทคอนกรีต โดยเช็คระดับ Slope ให้ตรงตามที่กำหนดไว้

5. รอให้คอนกรีตเซ็ตตัวพอหมาดๆ ไม่เปียกหรือแห้งจนเกินไป

6. เมื่อคอนกรีตเริ่มเซ็ตตัวจะเริ่มคายน้ำ มีน้ำขังบริเวณผิวหน้าคอนกรีต ให้ปาดน้ำออกให้หมด

7. โรยผงปูนสีโดยปูนสี 1 กระสอบ โรยได้พื้นที่ 10 ตร.ม. จากนั้นขัดมันจนขึ้นเงา

8. เมื่อขัดมันเสร็จแล้ว เริ่มโรยผง Releaser บางๆ ให้ทั่วบริเวณ โดยผง Releaser จะทำหน้าที่เป็นฟิล์มกั้นกลางระหว่าง คอนกรีตที่ยังไม่แห้งกับแผ่น Stamp เพื่อให้ผิวหน้าคอนกรีตมีลวดลาย

9. การ Stamp ควรเริ่ม Stamp จากฝั่งใดฝั่งหนี่งของชิ้นงานแล้วต่อแนวไปเรื่อยๆในกรณีที่เป็นลายดอก แต่ถ้าลายเป็นแนวตรง ควรดึงเชือกเป็นแนวฉากก่อน ก่อนเริ่ม Stamp ตามแนวเชือก

10. เริ่ม Stamp ต่อแนวไปเรื่อยๆ ในขณะที่ Stamp ให้ตกแต่งผิวหน้า แนวร่องควบคู่กันไปด้วย

11. Stamp จนเสร็จ แล้วตรวจดูความเรียบร้อยอีกครั้ง เสร็จแล้วทิ้งไว้จนแห้งสนิท

12. ล้างออกทำความสะอาดชิ้นงาน โดยอาจจะฉีดด้วยเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง หรือ ล้างด้วยผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน ล้างชิ้นงานให้สะอาด แล้วทิ้งไว้จนแห้งสนิท

13.เริ่มเคลือบอะคีลิคเที่ยวแรก โดยผสมอะคีลิค 1 ส่วนต่อทินเนอร์ 4 ส่วน (ทินเนอร์ AAA.)

14. เมื่อเคลือบเที่ยวแรก ปูนจะดูดอะคีลิคจนแห้งสนิท ให้ทำการเคลือบเที่ยวสุดท้าย โดยผสม อะคีลิค 1 ส่วน ต่อทินเนอร์ 3 ส่วน หรืออาจจะเพิ่มประมาณอะคีลิคในกรณีที่เคลือบแล้วชิ้นงานไม่ขึ้นเงา (ห้าม เคลือบอะคีลิคในขณะที่แดดจัด ร้อนจัด เช่น ตอนเที่ยงวันเพราะจะทำให้ผิวเคลือบเกิดฟองอากาศ จะทำให้ชิ้นงานเสียหาย ผิวเคลือบหลุดร่อนได้)

15. ทิ้งไว้จนแห้งสนิท ตรวจเช็คความเรียบร้อยครั้งสุดท้ายก่อนส่งมอบงาน